อาหารจะเคลื่อนจากกระเพาะอาหารผ่านกล้ามเนื้อหูรูดเข้าสู่ลำไส้เล็ก การย่อยอาหารในลำไส้เล็กเกิดจากการทำงานของอวัยวะ 3 ชนิด คือ ตับอ่อน ผนังลำไส้เล็ก และตับ ตับอ่อน ทำหน้าที่สร้างเอนไซม์หลายชนิด เช่น เอไมเลส ย่อยคาร์โบไฮเดรต ให้เป็นกลูโคส ไลเปส ย่อย ขามัน ให้เป็น กรดไขมัน และกลีเซอรอล ทริปซิน ย่อยโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโน นอกจากนี้ตับอ่อนยังสร้างสารโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต ซึ่งมีฤทธิ์เป็นเบส ปล่อยออกมา เพื่อลดความเป็นกรดของอาหารที่มาจากกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก มีลักษณะเป็นท่อยาวประมาณ 7 เมตร ขดอยู่ในช่องท้อง ลำไส้เล็กแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้ ลำไส้เล็กส่วนต้น เรียกว่า ดูโอดีนัม เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากระเพาะอาหาร ยาวประมาณ 0.30 เมตร ลำไส้เล็กส่วนกลาง เรียกว่า เจจูนัม ยาวประมาณ 2.5 เมตร ลำไส้เล็กส่วนท้าย เรียกว่า ไอเลียม ยาวประมาณ 4 เมตร ผนังด้านในของลำไส้เล็กมีลักษณะเป็นปุ่มไม่เรียบ เรียกว่า วิลไล ทำหน้าที่ดูดซึมอาหารวิลไล ประกอบด้วยร่างแหของเส้นเลือดฝอยและท่อน้ำเหลือง โมเลกุลของอาหารที่ย่อยแล้จะแพร่ผ่านเข้าเส้นเลือดฝอยและท่อน้ำเหลืองในวิลไล แล้วนำไปยังระบบหมุนเวียนโลหิตเพื่อเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ตับ ทำหน้าที่สร้างน้ำดีเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี จากถุงน้ำดีมีท่อมาเปิดเข้าสู่ลำไส้เล็ก ส่วนดูโอดีนัม น้ำดีจะช่วยกระจายไขมันให้แตกตัวออกเป็นเม็ดเล็ก ๆ แล้วเอนไซม์ไลเพส จะทำการย่อยต่อไป จนได้กรดไขมันและ กลีเซอรอล นอกจากนี้ตับยังทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคและสารบางชนิดที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย รวมทั้งเก็บสะสมวิตามินและธาตุเหล็ก การย่อยในลำไส้เล็ก ต้องอาศัยเอนไซม์จากตับอ่อน (pancreas) ซึ่งประกอบด้วยเอนไซม์ต่าง ๆ ดังนี้ ทริปซิน (trpsin) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีนหรือเพปไทด์ให้เป็นกรดอะมิโน อะไมเลส (amylase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลกลูโคส ไลเพส (lipase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยไขมันและกลีเซอรอล อาหารบางชนิดซึ่งไม่ถูกย่อยจะผ่านเข้าไปในลำไส้ใหญ่ น้ำส่วนใหญ่จะถูกดูดซึมในลำไส้ใหญ่ เพื่อให้ร่างกายนำกลับไปใช้ใหม่ ส่วนอาหารที่ย่อยไม่ได้จูกรวบรวมไว้ที่ปลายของลำไส้ใหญ่ ก่อนผ่านเข้าสู่ส่วนที่เรียกว่า ลำไส้ตรง และถ่ายออกทางทวารหนั
วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
Profile
ชื่อ : นายศุภโชค เชี่ยวชาญ
เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1
เกิดวันที่ : 6 มกราคม 2543
อายุ : 17 ปี
ชื่อเล่น : เจมส์
สีที่ชอบ : ดำ
กรุ๊ปเลือด : B
ราศี : มังกร
facebook : supachock chieochan
E-mail : jamesupachock@gmail.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)